วิตามินเอ

เป็นวิตามินที่ละลายในไขมันและเก็บสะสมในตับ มี 2 รูปแบบคือ เรทินอล และเบต้าแคโรทีน พบมากในอาหารจำพวก ตับ น้ำมันตับปลา นม ไข่แดง มันเทศ แครอท ผักบุ้ง ฟักทอง มะเขือเทศ ข้าวโพด เป็นต้น

หน้าที่สำคัญ

  • ต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant)
  • เสริมสร้างเซลล์เพื่อใช้ในการเจริญเติบโต
  • เสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟัน
  • ช่วยให้ผิวมีสุขภาพดี
  • บำรุงสายตา
  • เสริมสร้างภูมิคุ้มกันและเร่งการซ่อมแซมบาดแผล
  • เสริมสร้างระบบสืบพันธุ์

อาการเมื่อขาด : ตาบอดกลางคืน, ผิวแห้ง ตกสะเก็ด, เป็นหวัดบ่อย, ติดเชื้อง่าย

ปริมาณที่แนะนำสำหรับผู้ใหญ่ : 800 ไมโครกรัม

ข้อควรระวัง
วิตามินเอในรูปเรทินอลสามารถทำให้เกิดความผิดปกติกับทารกในครรภ์ ส่วนวิตามินในรูปเบต้าแคโรทีน หากมีปริมาณมากจะทำให้ผิวเหลือง แต่จะกลับมาเหมือนเดิมได้หากหยุดรับประทาน

การได้รับวิตามินเอในปริมาณสูงอาจเกิดการสะสมในร่างกายและเป็นพิษได้ใน 2 ลักษณะ คือ

รู้หรือไม่ว่า? ผู้ที่ได้รับแคโรทีนในปริมาณสูง จะทำให้ผิวหนังบริเวณร่องจมูก ฝ่ามือและฝ่าเท้ามีสีเหลือง เนื่องจากแคโรทีนถูกขับออกมาจากต่อมน้ำมันของผิวหนัง ต่างจากโรคดีซ่านคือตาจะไม่เหลือง อาการดังกล่าวจะหายไป เมื่องดบริโภคอาหารที่มีแคโรทีนสูง