กระดูกพรุน ทำไมคนไทยมีความเสี่ยงมากกว่าชาติใดในโลก ?

รู้หรือไม่? อายุยิ่งมาก…ความหนาแน่นของมวลกระดูกยิ่งลด! ส่งผลให้เกิดโรค กระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือ ภาวะที่กระดูกบางลง หักง่าย เมื่อได้รับอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย โดยเฉพาะกระดูกสะโพก กระดูกต้นขา หรือหลังโค้งงอ เนื่องจากกระดูกสันหลังยุบตัวเข้าหากัน ซึ่งพบมากในสตรีวัยหมดประจำเดือนและสูงอายุ เพราะขาดฮอร์โมนในการสร้างกระดูก

3 เหตุผลที่คนไทยอาจมีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนมากกว่าชาติอื่นๆ

กระดูกพรุน

กรรมพันธุ์ กระดูกพรุน ที่มากับผิวขาวของสาวเอเชีย

ถึงแม้ว่าประเภทผิว และจำนวนเม็ดสีของสาวเอเชียจะสามารถเอื้อต่อการดูดซึมวิตามินดีมากกว่าเชื้อชาติที่มีผิวคล้ำตามธรรมชาติ แต่จากการสำรวจพบว่าชาวเอเชียและคอเคเชียนมักมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าชาวแอฟริกัน อเมริกัน โดยกรรมพันธุ์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

วิตามินดี

หนีแดดเพราะกลัวดำ พฤติกรรมหลบวิตามินดี

แสงแดดเป็นเหมือนศัตรูตัวร้ายของสาวๆที่อยากมีผิวขาว ก็จะพยายพามหลบแดดกันให้มากที่สุด เพราะกลัวรังสี UVA/UVB จะเผาผิวสวยให้เสียไป แต่จริงๆแล้วแสงแดดนั้นมีประโยชน์ดีๆที่ส่งผลถึงกระดูกเชียวนะ! ในแสงแดดยามเช้ายังมีวิตามินดีที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต รวมถึงเสริมสร้างกระดูกและฟันอีกด้วย ดังนั้น หากร่างกายขาดวิตามินดีก็จะส่งผลกระทบต่อกระบวนการของกระดูกและฟันในร่างกายไปด้วย

นอกจากนี้วิตามินดียังมีหน้าที่สำคัญในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Immune System) การที่สาวๆหลบแดดก็เหมือนการหลบวิตามินดีไปด้วยนั่นเอง แทนที่จะหลีกเลี่ยงแดดตลอดเวลา ลองออกมาสัมผัสแสงแดดอ่อนๆยามเช้า เลือกช่วงเวลาที่แดดอ่อนๆพอนะคะ

 

แคลเซียม

อาหารโซเดียมสูงแคลเซียมต่ำ ทำแคลเซียมสลาย

อีกพฤติกรรมที่มีผลกระทบต่อระบบร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ “พฤติกรรมการรับประทาน” นั่นเอง ลองสังเกตพฤติกรรมการประทานอาหารของตัวคุณเองดูว่าชอบรับประทานอาหารแบบไหน ซึ่งอาหารจานโปรดของชาวไทยส่วนมากจะเป็นอาหารที่มีรสค่อนข้างจัด หนักเครื่องปรุง แม้จะมีผักหรือเนื้อสัตว์ที่ให้แคลเซียมอยู่บ้าง แต่ก็มีในปริมาณที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน สารอาหารที่มากับอาหารรสจัดมักจะเป็นโซเดียมปริมาณสูงซะมากกว่า ซึ่งนอกจากโซเดียมจะเป็นสาเหตุของโรคความดัน, ไตวาย, อัมพฤกษ์ อัมพาตแล้ว โซเดียมนี้จะกระตุ้นให้ไตขับแคลเซียมออกจากร่างกายทางเหงื่อและปัสสาวะ ทำให้นอกจากไม่ได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอแล้ว ยังต้องสูญเสียแคลเซียมออกไปอีกด้วย หากสามารถหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัด และทานนมจากถั่วเหลือง หรือแอลมอนด์เพิ่มเติมจากมื้ออาหาร ก็จะสามารถลดการสูญเสียแคลเซียมได้นะคะ และทางที่ดีนั้น ทุกเพศทุกวัยควรเลือกรับประทานอาหารที่มีโซเดียมไม่มาก และควรเป็นอาหารที่มีประโยชน์ เหมาะสมกับวัย เพื่อร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง และแน่นอนว่าย่อมส่งผลไปถึงกระบวนการของกระดูกและฟันอีกด้วย

ในทางกลับกันหากคุณต้องการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และช่วยลดโอกาสการเกิดโรคกระดูกพรุนได้ คุณต้องรับประทานอาหารที่มี “แคลเซียม” การจะเสริมแคลเซียมให้กับร่างกายต้องรู้ก่อนว่าเราจะพบแคลเซียมได้จากอาหารประเภทไหนบ้าง ซึ่งเราสามารถพบแคลเซียมได้ในน้ำนม น้ำส้ม ปลา บรอกโคลี ถั่วเปลือกแข็ง งา สาหร่ายทะเล แต่ต้องรับประทานในปริมาณที่มากพอถึงจะได้รับแคลเซียมที่เพียงพอในแต่ละวัน หรือง่ายกว่านั้นคือการเลือกรับประทานผลิตภัรฑ์เสริมอาหารที่มีแคลเซียมเป็นส่วนประกอบหลัก ก็สามารถช่วยให้ร่างกายได้รับแคลเซียมในปริมาณที่มากพอ ช่วยลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนได้

ประมาณ 99% ของแคลเซียม ( คลิ้กเพื่ออ่านบทความเกี่ยวกับแคลเซียม ) ในร่างกายจะถูกนำไปใช้ในกระบวนการสร้างกระดูก ฟัน เล็บ และผม ทำให้กระดูกและฟันมีความหนาแน่นแข็งแกร่ง ส่วนแคลเซียมอีก 1% จะไหลเวียนอยู่ในเลือด ดังนั้น แคลเซียมจึงมีความสำคัญต่อร่างกายอย่างมาก และเป็นสารสำคัญในการช่วยลดโอกาสการเกิดโรคกระดูกพรุน

นอกจากนี้แคลเซียมในเลือดยังมีประโยชน์ต่อร่างกายในหลายๆด้าน เช่น

  • มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานของมวลกล้ามเนื้อ
  • มีผลต่อสารสื่อประสาท
  • ป้องกันการไหลของเลือดเมื่อเกิดบาดแผล
  • มีผลต่อการเต้นของหัวใจ
  • ช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้

ร่างกายจะเริ่มสะสมแคลเซียมในกระดูกตั้งแต่วัยเด็ก และจะสะสมมากที่สุดในช่วงวัยรุ่น ผู้หญิงจะมีแคลเซียมสูงถึง 90% เมื่ออายุ 18 ปี และผู้ชายในอายุ 20 ปี โดยทั้งสองเพศจะมีระดับแคลเซียมในร่างกายสูงสุดเมื่ออายุ 30 ปี หลังจากนี้จะไม่มีการสะสมแคลเซียมแล้ว หากร่างกายได้รับแคลเซียมจากอาหารไม่มากพอกระดูกจะเริ่มผุ หลังจากผู้หญิงหมดประจำเดือนแล้ว 5-7 ปี ผู้หญิงจะมีการสูญเสียความหนาแน่นของกระดูกประมาณ 3-5% ต่อปี ซึ่งอาจสูงถึง 20% ของมวลกระดูกทั้งหมด

 

กระดูกพรุน

อย่าปล่อยให้ภัยเงียบจาก กระดูกพรุน เกิดขึ้นกับตัวคุณแล้วค่อยรักษา

ความหนาแน่นของมวลกระดูกนั้นจะลดน้อยลงไปตามกาลอายุ เมื่ออายุมากขึ้น ประกอบกับพฤติกรรมการใช้ชีวิต และปัจจัยทางด้านฮอร์โมนต่างๆมักจะทำให้ความหนาแน่นของมวลกระดูกน้อยลงไปเรื่อยๆ ความต้องการของแคลเซียมเพิ่มขึ้นตามวัยโดยเฉพาะผู้สูงอายุ ดังนั้น การเสริมแคลเซียม ซึ่งช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ อย่าปล่อยให้รู้ตัวเมื่อสายเกินแก้ หมั่นเสริมแคลเซียมให้กับร่างกายในทุกๆวัน ด้วยการรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามโภชนาการ ออกไปสัมผัสแสงแดดอ่อนๆบ้าง หรือเลือกวิธีที่ง่ายกว่านั้น คือการรับประทานแคลเซียมเป็นประจำก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้คุณห่างไกลจากโรคกระดูกพรุนได้นะคะ ทีนี้เรามาดูกันว่าร่างกายในแต่ละวัยมีความต้องการแคลเซียมแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

  • เด็ก (1-10 ปี) ควรได้รับแคลเซียมวันละ 800 มิลลิกรัม
  • วัยรุ่น (11-25 ปี) ควรได้รับแคลเซียมวันละ 1,000 มิลลิกรัม
  • วัยผู้ใหญ่ (25 ปีขึ้นไป) ควรได้รับแคลเซียมวันละ 1,000 มิลลิกรัม
  • สตรีมีครรภ์และให้นมบุตร ควรได้รับแคลเซียมวันละ 1,000 มิลลิกรัม
  • ผู้ประสบอุบัติเหตุกระดูกหัก ควรได้รับแคลเซียมวันละ 1,500 มิลลิกรัม

ผู้หญิงและผู้ชายที่มีอายุระหว่าง 19-50 ปี ต้องการแคลเซียมวันละ 1,000 มิลลิกรัม เมื่ออายุมากกว่า 50 ปี ต้องการ 1,200 มิลลิกรัม

ดังนั้น คนในแต่ละช่วงวัยควรเลือกการรรับประทานเพื่อเสริมแคลเซียมในปริมาณที่เหมาะสมกับช่วงวัยของตนเองด้วย จึงจะช่วยให้ร่างกายห่างไกลจากโรคกระดูกพรุนได้

 

 

ติดตามเคล็ดลับดีๆเกี่ยวกับสุขภาพและไลฟ์สไตล์ได้ที่   https://www.facebook.com/healthyclub.by.biopharm/

ปรึกษาปัญหาสุขภาพกับ Biopharm ทาง Line Official : @biopharm