เข่าเสื่อม คุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นหรือยัง ??

ผู้ที่มีความเสี่ยง เป็นโรค “เข่าเสื่อม”

หลายคนอาจเข้าใจว่า “เข่าเสื่อม” เป็นปัญหาสุขภาพที่ควรระวังเมื่อมีอายุมาก แต่ความจริงแล้ว โรคเข่าเสื่อมไม่ได้พบเฉพาะในผู้ที่สูงอายุเท่านั้น แต่ปัจจัยการใช้ชีวิตบางอย่างก็สามารถทำให้เกิดโรคเข่าเสื่อมในคนอายุน้อยๆได้เหมือนกัน เช่น การมีน้ำหนักตัวมากเกินไป การออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกมากๆ หรือการเป็นโรคเกี่ยวกับข้อเข่าอักเสบ หากคุณมีปัจจัยเหล่านี้อยู่ ก็ควรระวังปัญหาสุขภาพข้อเข่าด้วยเช่นกัน เพราะปัญหาโรคข้อเสื่อมสามารถป้องกันได้ และการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อโรคข้อเข่าเสื่อม ก็เป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติตั้งแต่เนิ่นๆโดยไม่ต้องรอให้เกิดอาการก่อน ดังนั้น ในบทความนี้จะมีปัจจัยและพฤติกรรมเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมมาฝากกันค่ะ

 

อายุมากขึ้น

ผู้ที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป

เมื่ออายุมากขึ้น ความสามารถในการผลิตคอลลาเจนและน้ำหล่อลื่นบริเวณข้อต่อในร่างกายก็เริ่มลดลง ทำให้บริเวณข้อเข่าขาดน้ำหล่อลื่นที่จะช่วยลดแรงกระแทกระหว่างกระดูก เมื่อกระดูกเกิดการเสียดสีกันโดยตรงมากๆ จะเป็นสาเหตของข้อเข่าเสื่อมและทำให้เกิดอาการเจ็บปวดในที่สุด

 

น้ำหนักตัวมาก

ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก (BMI > 23)

ค่า BMI คือ ดัชนีที่ใช้ชี้วัดความสมดุลของน้ำหนักตัว
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
สูตรคำนวณค่า BMI
น้ำหนักตัว[Kg] / (ส่วนสูง[m] ยกกำลังสอง)
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
ถ้าคุณมีค่า BMI มากเกิน 23 ขึ้นไป แสดงว่ามีน้ำหนักตัวเกินกว่ามาตรฐาน
การมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน จะทำให้เกิดบริเวณขาต้องรับน้ำหนักตัวที่มากเกินไป ส่งผลให้เกิดแรงกดทับบริเวณข้อเข่ามากกว่าปกติ โดยเฉพาะผู้ที่มีปริมาณไขมันมาก และมีมวลกล้ามเนื้อน้อยจะยิ่งทำให้เกิดภาระบริเวณกระดูกมากยิ่งขึ้น เพราะโดยปกติแล้วกล้ามเนื้อที่แข็งแรงจะสามารถช่วยส่งเสริมการรองรับน้ำหนักของกระดูกได้เมื่อร่างกายมีการเคลื่อนไหว แต่หากร่างกายมีมวลกล้ามเนื้อน้อย แต่มีน้ำหนักมากและเป็นน้ำหนักที่เกิดจากไขมันเป็นส่วนใหญ่ จะทำให้กระดูกต้องรับภาระในการรับน้ำหนักตัว โดยเฉพาะกระดูกบริเวณเข่า 
ทำให้เกิดการเสียดสีของกระดูกบริเวณข้อเข่ามากกว่าปกติ จึงอาจทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมและมีอาการปวดข้อเข่าได้ ดังนั้น เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเข่าเสื่อม ควรรักษาน้ำหนักตัวให้มีความสมดุล และออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเป็นประจำ เสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อที่แข็งแรงเพื่อช่วยในการเคลื่อนไหวร่างกาย และลดแรงเกินทับจากน้ำหนักตัวที่มากเกินไป อย่างไรก็ตาม การเลือกวิธิออกกำลังกายที่เหมาะสมก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญมากๆ ติดตามได้ในหัวข้อต่อไปนะคะ

 

ออกกำลังกายหนัก

ผู้ที่ออกกำลังกายที่มีการกระแทกมาก เสี่ยง เข่าเสื่อม

แน่นอนว่าการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ และเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องปฏิบัติเพื่อสุขภาพที่ดีแบบองค์รวม แต่เลือกวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมก็มีความสำคัยไม่แ้กัน เพราะการออกกำลังกายบางประเภททอาจทำให้เกิดแรงกระแทกมากเกินไป เช่น การวิ่ง การยกน้ำหนัก อาจทำให้เกิดแรงกดทับบริเวณข้อต่อมากกว่าปกติ โดยเฉพาะผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินมาตรฐาน ควรเลือกออกกำลังกายเบาๆก่อน ไม่ควรเริ่มด้วยการวิ่งเร็วๆ เพราะอาจทำให้เกิดแรงกดทับบริเวณข้อเข่ามากเกินไปจนอาจทำให้เกิดอากการปวดบริเวณข้อเข่าหากทำเป็นประจำ ดังนั้น ผู้ที่ต้องการออกกำลังกายประเภทนี้ ควรใช้อุปกรณ์ที่ช่วย Support บริเวณข้อเข่า และออกกำลังกายแต่พอดี ไม่หักโหมมากจนเกินไป เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรค เข่าเสื่อม ส่วนผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับข้อต่ออักเสบ หรือ ข้อเสื่อมอยู่แล้ว สามารถเลือกวิธีการออกกำลังกายทางน้ำได้ เพราะน้ำจะช่วยพยุงร่างกายและลดแรงกระแทกได้ดี แต่ยังคงช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้ดีเช่นกัน การออกกำลังกายทางน้ำ จึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการออกกำลังกายแต่กลัวปัยหาเรื่องแรงกระแทก

นอกจากนี้พฤติกรรมการนั่งพับเพียบ การนั่งคุกเข่าเป็นเวลานานๆต่อเนื่องเป็นประจำ ก็ทำให้เกิดแรงกดทับได้มากเช่นกัน หากทำเป็นประจำก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเข่าเสื่อมได้เช่นกัน

 

เข่าเสื่อม

ผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบ เช่น รูมาตอยด์ เกาต์

ผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบ เช่น รูมาตอยด์ เกาต์ มักมีอาการปวดบริเวณข้อเข่า เนื่องจากการอักเสบบริเวณข้อ ซึ่งโรครูมาตอยด์และโรคเกาต์มีความแตกต่างกันคร่าวๆ ดังนี้

โรครูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) เกิดขึ้นจากความผิดปกติของระบบภูมิต้านทานอย่างหนึ่ง ที่ไปทำลายและกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อและกระดูกรอบข้อ ส่งผลให้เกิดอาการปวดได้ทุกจุดของร่างกาย ทั้งข้อนิ้วมือ ข้อไหล่ ข้อนิ้วเท้า ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อไหล่ ข้อศอก

โรคเกาต์ (Gout) เกิดจากการที่ร่างกายสะสมกรดยูริก (Uric Acid) มากเกินไป และไม่สามารถขับกรดยูริกส่วนเกินออกได้ จึงตกผลึกตามข้อและอวัยวะต่าง ๆ ส่วนมากพบว่ามีอาการปวดในบริเวณส่วนล่างของร่างกาย โดยเฉพาะข้อโคนนิ้วหัวแม่เท้า นิ้วเท้า ข้อเท้า และข้อเข่า

ผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบ มักพบกับอาการปวดบริเวณข้อได้ง่ายอยู่แล้ว เมื่อบริเวณข้อมีการอักเสบเป็นประจำหรือเป็นเรื้อรังนานๆ ก็อาจะส่งผลให้เกิดโรคเข่าเสื่อมได้เช่นกัน ดังนั้น ตวรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาให้หาย เพื่อลดความเสี่ยงในการปวดเรื้อรัง

 

เข่าเสื่อม

สารสกัดที่ช่วยบำรุงข้อ ลดความเสี่ยง เข่าเสื่อม และลดอาการปวดข้อ

UC-II คือ คอลลาเจน Type II เป็นลิขสิทธิ์เฉพาะจากประเทศสหรัฐอเมริกา มีส่วนช่วยในการสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อกระดูกอ่อน บำรุงข้อต่อ เพิ่มน้ำหล่อลื่นบริเวณข้อต่อ จึงช่วยชะลอความเสื่อมของกระดูกบริเวณข้อต่อได้
 สารสกัดจากขมิ้นชัน มีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการเจ็บปวดบริเวณข้อเข่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

ติดตามเคล็ดลับดีๆเกี่ยวกับสุขภาพและไลฟ์สไตล์ได้ที่   https://www.facebook.com/healthyclub.by.biopharm/

ปรึกษาปัญหาสุขภาพกับ Biopharm ทาง Line Official : @biopharm