เป็นสารอาหารที่ทำงานร่วมกับอินซูลินเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือด ลดอาการหิวโหยและช่วยในการสลายไขมัน มีส่วนในการช่วยรักษาปริมาณน้ำตาลในร่างกายให้คงที่ (ในขบวนการย่อยสลายคาร์โบไฮเดรต) ในงานวิจัยพบว่า โครเมียม เป็นส่วนประกอบของสารที่เรียกว่า GTF (Glucose Tolerance Factor) โดยทำงานร่วมกับ ไนอาซิน และ กรดอะมิโน อีกหลาย แหล่งอาหารที่พบมากได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่แดง บริวเวอร์ยีสต์ ตับ จมูกข้าวสาลี และอื่น ๆ
หน้าที่ของโครเมียม
- ควบคุมระดับน้ำในเลือด ลดความเสี่ยงของโรคเบาหวาน
- ช่วยในการเจริญเติบโต
- ควบคุมน้ำหนัก
- ควบคุมความดันโลหิต
- ควบคุมโคเลสเตอรอล
โครเมียมและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและโรคเบาหวาน
ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ไม่พึ่งอินซูลิน โครเมียมจะมีส่วนช่วยรักษาปริมาณน้ำตาลให้คงที่ (ในขบวนการย่อยสลายคาร์โบไฮเดรต) ซึ่งจากการศึกษาพบว่า อินซูลินที่หลั่งจากตับอ่อนจะมีความสัมพันธ์กับระดับน้ำตาล ในเลือด แต่ปัญหาคือ ร่างกายผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน โครเมียมเป็นส่วนประกอบของสารที่เรียกว่า GTF (Glucose tolerance factor) โดยทำงานร่วมกับ ไนอะซิน และ กรดอะมิโน อีกหลายชนิดจะไปช่วยกระตุ้นให้เซลล์ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้ดียิ่งขึ้น ช่วยให้ระดับน้ำตาลเข้าสู่ระดับปกติ ดังนั้นการได้รับโครเมียม จึงมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรค เบาหวานชนิดที่ 2 ขนาดที่แนะนำคือ 200 ไมโครกรัมต่อวัน
อาการเมื่อขาด : ง่วงนอน, หิวบ่อย, เวียนศีรษะ, กระหายน้ำบ่อย, ตัวร้อนหรือเย็น แต่มีเหงื่อออก
ปริมาณที่แนะนำสำหรับผู้ใหญ่ : 130 ไมโครกรัมต่อวัน