Life Style

วิตามินเอ

เป็นวิตามินที่ละลายในไขมันและเก็บสะสมในตับ มี 2 รูปแบบคือ เรทินอล และเบต้าแคโรทีน พบมากในอาหารจำพวก ตับ น้ำมันตับปลา นม ไข่แดง มันเทศ แครอท ผักบุ้ง ฟักทอง มะเขือเทศ ข้าวโพด เป็นต้น

หน้าที่สำคัญ

  • ต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant)
  • เสริมสร้างเซลล์เพื่อใช้ในการเจริญเติบโต
  • เสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟัน
  • ช่วยให้ผิวมีสุขภาพดี
  • บำรุงสายตา
  • เสริมสร้างภูมิคุ้มกันและเร่งการซ่อมแซมบาดแผล
  • เสริมสร้างระบบสืบพันธุ์

อาการเมื่อขาด : ตาบอดกลางคืน, ผิวแห้ง ตกสะเก็ด, เป็นหวัดบ่อย, ติดเชื้อง่าย

ปริมาณที่แนะนำสำหรับผู้ใหญ่ : 800 ไมโครกรัม

ข้อควรระวัง
วิตามินเอในรูปเรทินอลสามารถทำให้เกิดความผิดปกติกับทารกในครรภ์ ส่วนวิตามินในรูปเบต้าแคโรทีน หากมีปริมาณมากจะทำให้ผิวเหลือง แต่จะกลับมาเหมือนเดิมได้หากหยุดรับประทาน

การได้รับวิตามินเอในปริมาณสูงอาจเกิดการสะสมในร่างกายและเป็นพิษได้ใน 2 ลักษณะ คือ

รู้หรือไม่ว่า? ผู้ที่ได้รับแคโรทีนในปริมาณสูง จะทำให้ผิวหนังบริเวณร่องจมูก ฝ่ามือและฝ่าเท้ามีสีเหลือง เนื่องจากแคโรทีนถูกขับออกมาจากต่อมน้ำมันของผิวหนัง ต่างจากโรคดีซ่านคือตาจะไม่เหลือง อาการดังกล่าวจะหายไป เมื่องดบริโภคอาหารที่มีแคโรทีนสูง


วิตามินบี 1 (ไทอะมีน)

เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำได้ดี สามารถขับออกจากร่างกายได้ง่าย พบได้มากในอาหารจำพวกเนื้อหมู ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ถั่วเมล็ดแห้ง งา ไข่แดง และอื่น ๆ

หน้าที่ของวิตามินบี 1

  • ป้องกันโรคเหน็บชา อาการชาตามปลายนิ้วมือนิ้วเท้า
  • เร่งการเผาผลาญอาหารให้ได้พลังงาน
  • เสริมประสิทธิภาพของระบบประสาทและสมอง
  • เสริมสร้างการเม็ดเลือดแดง
  • เสริมสร้างกระบวนการย่อยอาหาร
  • เพิ่มความสดชื่น กระปรี้กระเปร่า

อาการเมื่อขาด: อ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ, เหน็บชา, บวมน้ำ, ปวดศรีษะ

ปริมาณที่แนะนำสำหรับผู้ใหญ่ : 1.4 มิลลิกรัม

ข้อควรระวัง
การได้รับวิตามินบี 1 ปริมาณมากเกินไป อาจรบกวนการรับวิตามินบี ชนิดอื่นๆ ได้ หรือถ้ามากเกิน 3 มิลลิกรัมต่อวัน อาจทำให้ชีพจรเต้นเร็ว นอนไม่หลับ

อาการเป็นพิษ: สำหรับวิตามินบี 1 ซึ่งเป็นวิตามินที่มีคุณสมบัติในการละลายน้ำ ดังนั้นเมื่อไรก็ตามที่มีปริมาณมากเกินไป ร่างกายก็สามารถที่จะกำจัดออกมาได้ในรูปแบบของการปัสสาวะ


วิตามินบี 2 (ไรโบฟลาวิน)

ร่างกายต้องการวิตามินบี 2 เพื่อทำงานร่วมกับเอนไซม์ ในกระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันให้ได้พลังงาน วิตามินบี 2 ถูกทำลายได้ง่ายด้วยแสงแดด จึงพบการขาดได้บ่อยครั้ง แหล่งที่พบยีสต์สกัด, ธัญพืชไม่ขัดขาว, ตับ, เนยแข็ง, นม, ผักใบเขียว

หน้าที่ของวิตามินบี 2

  • บำรุงผิว ผมและเล็บ
  • ช่วยในการมองเห็น
  • เร่งกระบวนการเผาผลาญอาหารให้เกิดพลังงาน
  • เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
  • กระตุ้นภูมิคุ้มกัน

อาการเมื่อขาด: ระคายเคืองตาและตาไม่สู้แสง, ผิวหนังอักเสบ, แผลร้อนใน, ปากนกกระจอก, เวียนศีรษะ, ผมร่วง

ปริมาณที่แนะนำสำหรับผู้ใหญ่: 1.6 มิลลิกรัม

อาการเป็นพิษ: สำหรับวิตามินบี 2 ซึ่งเป็นวิตามินที่มีคุณสมบัติในการละลายน้ำ ดังนั้นเมื่อไรก็ตามที่มีปริมาณมากเกินไป ร่างกายก็สามารถที่จะกำจัดออกมาได้ในรูปแบบของการปัสสาวะ


วิตามินบี 5 (กรดแพนโททินิก)

เป็นสารอาหารอีกชนิดในกลุ่มของวิตามินบีรวม พบได้ในอาหารหลายชนิดเช่น ไข่ ถั่ว เนื้อสัตว์ ตับ ไต หัวใจ ผักสีเขียว อย่างไรก็ตามวิตามินชนิดนี้มักสูญเสียสภาพได้ง่ายในกระบวนการปรุงและเก็บอาหาร จึงทำให้คนส่วนใหญ่มีโอกาสที่จะพบการขาดวิตามินชนิดนี้ได้บ่อย

หน้าที่ของวิตามินบี 5

  • เผาผลาญอาหารให้ได้พลังงาน
  • กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
  • ช่วยในกระบวนการรักษาแผล
  • กระบวนการสร้างเซลล์
  • บำรุงผิวและเส้นผม
  • ลดความเครียด

อาการเมื่อขาด: อ่อนเพลีย, อาการเหน็บชาตามแขนขาและเท้า, กล้ามเนื้อหด เกร็ง สั่น และเป็นตะคริว, ปวดศีรษะ, ไม่อยากอาหาร

ปริมาณที่แนะนำสำหรับผู้ใหญ่ : 6 มิลลิกรัม

ข้อควรระวัง
การได้รับวิตามินบี 5 ปริมาณมากเกินไป อาจส่งผลเกี่ยวกับกระเพาะอาหารและท้องเสีย


วิตามินบี 3 (ไนอะซิน)

ร่างกายสามารสังเคราะห์วิตามินบี 3 ได้เองโดยใช้กรดอะมิโนทริปโตแฟน จัดเป็นวิตามินที่ละลายน้ำอีกประเภทหนึ่ง แหล่งที่พบได้แก่ ปลา เนื้อไม่ติดมัน ตับ จมูกข้าสาลี ไข่ ถั่ว เป็นต้น

หน้าที่ของวิตามินบี 3

  • ช่วยให้มีสุขภาพจิตดี
  • ช่วยในการเผาผลาญอาหาร
  • ช่วยในการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ปกติ
  • จำเป็นต่อการทำงานของหัวใจและการไหลเวียนโลหิต
  • ช่วยรักษาสุขภาพผิว
  • ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดและระดับคอเลสเตอรอล

อาการเมื่อขาด: ความจำไม่ดี, เศร้าซึม, ปวดศีรษะ, เบื่ออาหาร, คลื่นไส้, มีแผลเรื้อรังในปาก

ปริมาณที่แนะนำสำหรับผู้ใหญ่ : 18 มิลลิกรัม

ข้อควรระวัง

การได้รับวิตามินบี 3 ในปริมาณมากเกินไปอาจส่งผลต่อตับ เกิดอาการร้อนวูบวาบและปวดศีรษะได้ นอกจากนี้ยังพบว่า วิตามินบี 3 จะมีผลต่อการควบคุมระดับกรดยูริกอีกด้วย รวมถึงอาจทำให้มีปัญหาในเรื่องของการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในภาวะปกติอีกด้วย


วิตามินบี 6 (ไพริด็อกซิน)

จัดอยู่ในกลุ่มวิตามินที่ละลายน้ำ ร่างกายนำไปใช้ได้คือรูปของ ไพริด็อกซิน ร่างกายเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นในการสร้างแอนติบอดีและเม็ดเลือดแดง แหล่งที่พบได้แก่ จมูกข้าวสาลี ผักใบเขียว กะหล่ำปลี รำข้าว ไข่ ข้าวโอ๊ต ปลา

หน้าที่ของวิตามินบี 6

  • เร่งกระบวนการเผาผลาญอาหารให้เกิดพลังงาน
  • ช่วยให้ระบบภูมิคุมกันแข็งแรง
  • รักษาสมดุลฮอร์โมนเพศและลดอาการก่อนมีประจำเดือน
  • ช่วยให้อารมณ์ดี
  • เป็นยาขับปัสสาวะตามธรรมชาติ
  • นอกจากนี้จากการศึกษายังพบว่า วิตามินบี 6 จะทำงานร่วมกับกรดโฟลิกในการลดระดับกรดอะมิโนที่ชื่อ โฮโมซิสเทอีน ในกระแสเลือด ดังนั้นจึงช่วยให้สามารถลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด

อาการเมื่อขาด : บวมน้ำ, วิตกกังวล หงุดหงิดง่าย, กล้ามเนื้อหดเกร็งและเป็นตะคริว, โลหิตจาง, ผิวแห้งและแตกเป็นสะเก็ด

ปริมาณที่แนะนำสำหรับผู้ใหญ่
2 มิลลิกรัม

ข้อควรระวัง
การได้รับวิตามินบี 6 ปริมาณสูงเป็นเวลานาน อาจมีผลต่อระบบประสาท และผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่ใช้ยาเลโวโดปา เพื่อรักษาโรคพาร์กินสัน ไม่ควรเสริมวิตามินบี 6


วิตามินบี 12 (โคบาลามิน)

เป็นวิตามินชนิดที่ละลายน้ำ จำเป็นสำหรับการทำงานของระบบประสาท การเจริญเติบโตในวัยเด็ก และควบคุมความอยากอาหาร ผู้รับประทานมังสวิรัติมีแนวโน้มขาดวิตามินชนิดนี้ เพราะวิตามินชนิดนี้จะพบในสัตว์เท่านั้น แหล่งอาหารที่สำคัญได้แก่ ตับ เนื้อหมู เนื้อวัว ไข่ นม ชีส ปลา

หน้าที่ของวิตามินบี 12

  • เสริมสร้างการเจริญเติบโต
  • บำรุงระบบประสาท
  • สร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง
  • เพิ่มพละกำลัง
  • ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยการไปปรับระดับของโฮโมซีสเทอีนในกระแสเลือด

อาการเมื่อขาด: โลหิตจาง, สภาพเส้นผมไม่แข็งแรง, อ่อนเพลีย, ผิวหนังอักเสบ, กล้ามเนื้อเจ็บตึง, และโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท

ปริมาณที่แนะนำสำหรับผู้ใหญ่: 1 ไมโครกรัม


ไบโอติน (Biotin)

ไบโอติน มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า วิตามินเอช (Vitamin H) จัดอยู่ในกลุ่มวิตามินบีที่ละลายน้ำ ทำงานร่วมกับวิตามินบีอื่นๆ ในกระบวนเผาผลาญอาหารให้ได้พลังงาน โดยเฉพาะอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต แหล่งอาหารที่สำคัญได้แก่ ไข่แดง

หน้าที่ของไบโอติน

  • บำรุงผมและผิว
  • ลดอาการผิวหนังอักเสบ
  • อาจช่วยควบคุมน้ำหนัก

อาการเมื่อขาด : ผมร่วงเป็นกระจุก, ผมหงอก, เล็บเปราะแตกหักง่าย, ผิวหนังเป็นสะเก็ด

ปริมาณที่แนะนำสำหรับผู้ใหญ่ : 2 ไมโครกรัม

อาการขาด: โดยปกติแล้วอาการขาดสารไบโอตินในมนุษย์พบได้น้อยมาก เนื่องจากร่างกายสามารถได้รับไบโอตินจากแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ (Normal Flora) อย่างไรก็ตามมีข้อยกเว้นสำหรับบุคคลบางกลุ่มได้แก่ ผู้ที่รับประทานไข่ขาวและไข่ดิบติดต่อกันนานๆ, ผู่ที่รับประทานยาฆ่าเชื้อเป็นประจำ


กรดโฟลิก (Folic Acid)

โฟลิกจัดอยู่ในกลุ่มวิตามินบีรวม ซึ่งทำงานร่วมกับวิตามินบีอื่นๆ โดยเฉพาะวิตาบินบี 12 แหล่งอาหารที่พบมากได้แก่ ผักที่มีใบสีเขียวเข้ม ตับ ฟักทอง ไข่แดง จมูกข้าวสาลี อะโวคาโด กรดโฟลิกจะถูกทำลายได้ง่ายโดยความร้อนสูงและแสงสว่าง

หน้าที่ของกรดโฟลิก

  • ป้องกันความผิดปกติของทารกในครรภ์
  • จำเป็นต่อการแบ่งตัวของเซลล์
  • สังเคราะห์และซ่อมแซมสารพันธุกรรม DNA
  • สำคัญต่อกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง
  • ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ

อาการเมื่อขาด: โลหิตจาง, ริมฝีปากแตก, ซึมเศร้า, อ่อนเพลีย, เบื่ออาหาร, ผิวซีด, ผิวหนังอักเสบ, ความจำเสื่อม

ปริมาณที่แนะนำสำหรับผู้ใหญ่: 200 ไมโครกรัม

ข้อควรระวัง
เมื่อได้รับในปริมาณสูงอาจเป็นพิษ ทำให้นอนไม่หลับและรบกวนการดูดซึมสังกะสี ผู้ป่วยโรคลมชักจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเสริมวิตามินชนิดนี้ เพราะจะรบกวนการออกฤทธิ์ของยารักษาโรคดังกล่าว

สินค้าที่เกี่ยวข้อง


วิตามินซี (Vitamin C)

วิตามินซี หรือมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า กรดแอสคอร์บิก (Ascorbic Acid) เป็นวิตามินที่ละลายได้น้ำ มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ พบมากในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวเช่น อะเซโรล่า เชอร์รี่, ส้ม, มะนาว, ฝรั่ง, ผักใบเขียว, ดอกกะหล่ำ, ถูกทำลายง่ายโดยความร้อนและแสง

หน้าที่ของวิตามินซี

  • เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
  • บำรุงผิว
  • เสริมสร้างคอลลาเจนเพื่อเชื่อมโครงสร้างและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน
  • ป้องกันการติดเชื้อ
  • ต่อต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant)

อาการเมื่อขาด : เลือดออกตามไรฟัน, เกิดรอยฟกช้ำไดง่าย, เป็นหวัดและติดเชื้อบ่อย, เลือดกำเดาไหลบ่อย

ปริมาณที่แนะนำสำหรับผู้ใหญ่ : 60 มิลลิกรัม

ข้อควรระวัง : เมื่อได้รับในปริมาณสูงอาจทำให้ท้องเสืย และสำหรับผู้ที่มีแนวโน้มเป็นก้อนนิ่วในไต ไม่ควรได้รับวิตามินซีในปริมาณสูงเกินกว่า 3,000 มิลลิกรัมต่อวัน อย่างไรก็ตามหากได้รับวิตามินซีในปริมาณที่สูงหรือมากเกินความจำเป็นก็จะถูกขับออกทางปัสสาวะหรือทางอื่นๆจากร่างกายเรา แต่ถ้าหากร่างกายได้รับมากเกินขนาด ในบางรายก็อาจมีอาการ คลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะเป็นสีเข้ม ถ่ายเหลว แต่ไม่ได้รุนแรงอะไร เพราะวิตามินซีเป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ จะถูกขับออกไปในที่สุด


วิตามิน ดี (Vitamin D)

วิตามินดีหรืออีกชื่อ เรียกว่า แคลซิเฟอร์รอล ร่างกายสามารถได้รับจากอาหารและแสงแดด อยู่ในกลุ่มวิตามินที่ละลายในไขมัน ทำหน้าที่ควบคุมการดูดซึมแคลเซียม มีความจำเป็นต่อความแข็งแรงของกระดูกและฟัน แหล่งอาหารที่พบได้บ่อย ได้แก่ น้ำมันตับปลา ปลาทะเล นมและผลิตภัณฑ์จากนม

หน้าที่ของวิตามินดี

  • เสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง
  • ป้องกันโรคกระดูกอ่อนในเด็ก
  • ควบคุมการดูดซึมแคลเซียม
  • ช่วยในการดูดซึมวิตามินเอ

อาการเมื่อขาด

  • การเจริญเติบโตช้า
  • ปวดหลัง
  • ฟันผุ
  • กระดูกเปราะและปวดกระดูก
  • กล้ามเนื้อ่อนแรง

ปริมาณที่แนะนำสำหรับผู้ใหญ่ : 200 IU

ข้อควรระวัง
เมื่อได้รับในปริมาณสูง อาจทำให้เกิดการสะสมและมีอาการข้างเคียง เช่น อาเจียน ปวดศีระษะ ท้องเสีย เศร้าซึม หากรับประทาน 20,000 ไอยูต่อวันอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดพิษได้

สินค้าที่เกี่ยวข้อง


วิตามิน อี (Vitamin E)

วิตามินอี (โทโคเฟอรอล หรือโทโคไตรอีนอล) จัดอยู่ในกลุ่มวิตามินที่ละลายในไขมัน ถูกเก็บสะสมที่ตับ เนื้อเยื่อไขมัน หัวใจ กล้ามเนื้อ แต่จะสะสมในร่างกายในระยะเวลาสั้นๆ โดยปกติแล้ววิตามิน อี จะมีอยู่ในรูปแบบธรรมชาติกลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ โทโคเฟอรอลและโทโคไตรอีนอล ซึ่งโทรโคเฟอรอลแบ่งออกเป็น 4 ชนิดได้แก่ แอลฟา เบต้า แกมมา และเดลตา ซึ่งชนิดที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดได้แก่ แอลฟา–โทโคเฟอรอล แหล่งที่พบมากได้แก่ จมูกข้าวสาลี ถั่วเหลือง น้ำมันพืช ถั่ว กะหล่ำ ผักใบเขียว ขนมปังโฮลวีท มันเทศ ปวยเล้ง อะโวคาโด

หน้าที่ของวิตามินอี

  • เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant)
  • ช่วยให้ผิวมีสุขภาพดี (เพิ่มความชุ่มชื้น)
  • ป้องกันกระบวนการเสื่อมสภาพของเซลล์
  • ลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็ง
  • จำเป็นต่อการมีบุตร
  • ช่วยบรรเทาอาการในสตรีวัยหมดประจำเดือน
  • ดูแลสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด

อาการเมื่อขาด: ฟกช้ำได้ง่าย, แผลหายช้า, ความต้องการทางเพศลดลง, เหนื่อยล้ามากหลังออกกำลังกาย, เส้นเลือดดำขอด, เป็นหมัน

ปริมาณที่แนะนำสำหรับผู้ใหญ่ : 15 IU

ข้อควรระวัง : หากใช้ยาที่เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือดหรือมีภาวะเบาหวาน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสริมวิตามินอีตามินอี


โคลีน

จัดอยู่ในกลุ่มวิตามินบีรวม และเป็นสารที่ช่วยเร่งกระบวนการเผาผลาญในร่างกาย จำเป็นต่อการสลายไขมัน และการทำงานของสมอง ช่วยในการกระจายตัวของคอเลสเตอรอล ไม่ให้คอเลสเตอรอลเกาะที่ผนังเส้นเลือดแดงหรือผนังของถุงน้ำดี แหล่งที่พบได้แก่ ไข่แดง สมอง หัวใจ ถั่วลิสง ขนมปังโฮลวีท

หน้าที่ของโคลีน

  • ลดระดับคอเลสเตอรอล
  • ส่งเสริมการทำงานของสมองและระบบประสาท
  • กระตุ้นความจำและสมาธิ
  • คงสภาพระบบประสาทให้ปกติ
  • ป้องกันและลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์

อาการเมื่อขาด : ความจำเสื่อม, โรคเกี่ยวกับประสาท, ความดันโลหิตสูง, อาจส่งผลให้เกิดโรคตับแข็งหรือไขมันสะสมที่ตับ, อัลไซเมอร์

ปริมาณที่แนะนำสำหรับผู้ใหญ่: 500-900 มิลลิกรัม/วัน

ข้อควรระวัง
เมื่อได้รับในปริมาณสูงมากเป็นประจำ อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้


โคเอ็นไซม์คิวเทน (CoQ 10)

โคเอ็นไซม์คิวเท็น หรือ โคคิวเท็น หรือ ยูบิควินโนน เป็นชื่อของสารอาหารชนิดเดียวกัน โคเอ็นไซม์คิวเท็นจัดเป็นสารชีวภาพสำคัญที่พบในทุกเซลล์ของร่างกาย ซึ่งโดยปกติร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้เองจากกรดอะมิโนไทโรซีน (Tyrosine) ร่วมกับวิตามิน 8 ชนิดและแร่ธาตุอีกจำนวนหนึ่ง แต่หลังจากอายุ 20 ปี ปริมาณการสร้างโคเอ็นไซม์คิวเท็นก็จะลดลงต่ำกว่าระดับที่ร่างกายต้องการ

คุณสมบัติที่สำคัญของโคเอ็นไซม์คิวเท็นคือ การเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ซึ่งเป็นผลมาจากโครงสร้างทางเคมีที่มีลักษณะเด่นในการจับกับอนุมูลอิสระในกระแสเลือด นอกจากนี้คุณสมบัติที่สำคัญอีกประการของโคเอ็นไซม์คิวเท็นก็คือ สำคัญต่อกระบวนการสร้างพลังงานให้กับเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย

แหล่งที่พบโคเอ็นไซม์คิวเท็น ในอาหาร เช่น เนื้อวัว ตับ ไต หัวใจ ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ไข่ ผักขม ถั่วลิสง น้ำมันถั่วเหลือง เมล็ดงา

หน้าที่ของโคเอ็นไซม์คิวเท็น

  • เป็นแหล่งพลังงานระดับเซลล์ที่สำคัญ ช่วยสร้างพลังงานให้กับเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจและสมอง
  • เป็นสารต้านอนุมูลอิสระชะลอการเสื่อมของเซลล์ผิว
  • ซ่อมแซมผิวที่เสื่อมสภาพ ชะลอริ้วรอยก่อนวัย
  • เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
  • เหมาะสำหรับผู้ที่รับประทานยาลดไขมันในเลือดกลุ่มสเตติน (Statins) เนื่องจากการใช้ยาดังกล่าวมีผลยับยั้งการสร้างโคเอนไซม์ คิวเทนในร่างกายไปด้วย ซึ่งทำให้ปริมาณโคเอนไซม์ คิวเทนในร่างกายลดลงอย่างรวดเร็ว

โคเอ็นไซม์คิวเท็นและประโยชน์ต่อร่างกาย
สุขภาพหัวใจ : โคเอ็นไซม์คิวเท็นจะเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อหัวใจ และอาจมีประโยชน์ช่วยลดความดันโลหิต ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด
โรคเหงือก : การรับประทานโคเอ็นไซม์คิวเท็นในขนาด 60 มิลลิกรัมต่อวัน สามารถช่วยลดการอักเสบทุกชนิดที่เกิดจากโรคเหงือก
ชะลอความแก่ : เนื่องจากทุกเซลล์ของร่างกายต้องการพลังงานเป็นองค์ประกอบที่จะให้เซลล์ขับเคลื่อนได้ ดังนั้นหากเซลล์ได้รับพลังงานที่แจกจ่ายโดยโคเอ็นไซม์คิวเท็นครบถ้วน ก็จะทำให้เซลล์ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

อาการเมื่อร่างกายขาดโคเอนไซม์ คิวเทน
มีอาการใจสั่น หัวใจเต้นแรงผิดจังหวะ ชีพจรเร็ว เหนื่อยล้าอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง วิงเวียนศีรษะ หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก ชาปลายมือ ปลายเท้า

ปริมาณที่แนะนำ
50 – 100 มก.ต่อวันสำหรับบำรุงผิว
100 – 300 มก.ต่อวันสำหรับบำรุงกล้ามเนื้อหัวใจ


สารสกัดจากเมล็ดองุ่น (Grape Seed extract)

ตั้งแต่อดีตคนโบราณไม่เพียงแต่ใช้องุ่นเพื่อการรับประทานและการดื่มเท่านั้นแต่ยังมีการนำเอาองุ่นไปทำเป็นยาอีกด้วย หลายส่วนของต้นองุ่นได้ถูกนำไปใช้สำหรับทำเป็นยาหรือสมุนไพร จนกระทั่งในปี ค.ศ.1970 นักชีวเคมีชาวฝรั่งเศสได้นำเอาเมล็ดองุ่นไปทำการสกัดและในที่สุดได้พบสารสำคัญที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมากชื่อว่า “โอลิโกเมอริก โปรแอนโธไซยานิดินส์ (Oligomeric Proanthocyanidins) หรือ OPCs”

OPCs คืออะไร

OPCs เป็นสารสำคัญอีกชนิดหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มของไบโอฟลาโวนอยด์ มีคุณสมบัติที่สำคัญในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูง และละลายน้ำได้ดี ดังนั้นจึงมีประสิทธิภาพมากในการปกป้องเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายจากการถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระ รวมถึงมีประสิทธิภาพในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าวิตามินซีถึง 20 เท่า และมากกว่าวิตามินอีถึง 50 เท่า

หน้าที่ของสารสกัดเมล็ดองุ่น

1. หัวใจและหลอดเลือด

  • ยับยั้งการเกาะตัวของคอเลสเตอรอลที่ผนังหลอดเลือด จึงป้องกันหลอดเลือดอุดตัน
  • เพิ่มความสามารถในการไหลเวียนของโลหิต
  • ส่งเสริมให้เส้นเลือดฝอยแข็งแรง ไม่เปราะหรือแตกหักง่าย เนื่องจาก OPCs สามารถรวมตัวกับคอลลาเจนของผนังหลอดเลือดได้ดี จึงป้องกันอนุมูลอิสระที่จะมาทำลายเซลล์ผนังหลอดเลือด ช่วยบรรเทาอาการเส้นเลือดขอดหรือโป่งพองได้

2. ดวงตา – ป้องกันการเสื่อมของดวงตา ต้อกระจก ช่วยให้สายตาปรับการมองเห็นในที่มืดได้ดี
3. ภูมิแพ้ – ลดอาการภูมิแพ้ OPC มีคุณสมบัติในการต้านสารฮีสตามีน จึงช่วยลดอาการภูมิแพ้ หอบหืด
4. สมอง – ป้องกันโรคสมองเสื่อมหรือ อัลไซน์เมอร์ โดยที่ OPCs จะเข้าไปขัดขวางการทำลายเซลล์สมองจากอนุมูลอิสระ
5. ผิว – ช่วยลดริ้วรอย ฝ้าและกระให้จางลง โดย OPCs จะช่วยต้านอนุมูลอิสระที่จะมาทำลายคอลลาเจนอิลาสตินและการผลิตเม็ดสี อันเป็นสาเหตุทำให้ผิวเสื่อมสภาพ และเกิดริ้วรอยก่อนวัยอันควร

ข้อควรระวัง : ไม่แนะนำสำหรับผู้ที่มีภาวะเลือดแข็งตัวช้าหรือใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด และควรหยุดการรับประทานอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ก่อนและหลังการผ่าตัดหรือทำฟัน