ไขมันในเลือดที่สำคัญ ได้แก่ โคเลสเตอรอล (cholesterol), ไตรกลีเซอร์ไรด์ (triglyceride), ฟอสโฟไลปิด (phospholipids)
ซึ่งไขมันเหล่านี้มีหน้าที่ๆแตกต่างกัน คือ
โคเลสเตอรอล (cholesterol)ถึงแม้จะไม่สามารถให้พลังงานแก่ร่างกายได้ แต่ก็มีประโยชน์ดังนี้
- นำมาสร้างน้ำดี เพื่อใช้สำหรับย่อยไขมัน
- สร้างฮอร์โมนบางชนิด
- เป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์
ไตรกลีเซอร์ไรด์ (triglyceride) เป็นไขมันที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย, เป็นรูปแบบไขมันที่ร่างกายเก็บสะสมไว้ (เพื่อนำมาใช้เป็นพลังงานเมื่อจำเป็น)
ฟอสโฟไลปิด (phospholipids)ส่วนมากจะเป็น phosphatidylcholine หรือ lecithin หน้าที่ของ lecithin ในร่างกาย เช่น การเป็นสารประกอบของผนังเซลล์, ช่วยในการทำให้ไขมันแตกออกกลายเป็นหยดเล็กๆและถูกย่อยได้ง่ายขึ้น
ไขมันที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น ทั้งโคเลสเตอรอล, ไตรกลีเซอร์ไรด์, และ ฟอสโฟไลปิด ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่างนั้น การนำพา หรือเคลื่อนย้ายของไขมันเหล่านี้จากอวัยวะหนึ่งไปยังอวัยวะหนึ่งผ่านทางกระแสเลือด จะต้องรวมอยู่กับโปรตีนเพื่อให้สามารถละลายอยู่ในน้ำเลือดได้ ซึ่งการอยู่รวมกับโปรตีนนี้จะเกิดเป็นสารประกอบที่เรียกว่า ไลโปโปรตีน (lipoprotein หรือ LP) ไลโปโปรตีน มีหลายชนิด สามารถแบ่งเป็นชนิดต่างๆโดยอาศัยความหนาแน่นที่ต่างกันได้เป็น 4 ชนิด คือ
- ไคโลไมครอน (Chylomicron)
- ไลโปโปรตีนความหนาแน่นต่ำมาก (very low density LP)(VLDL)
- ไลโปโปรตีนความหนาแน่นต่ำ (low density LP)(LDL)
- ไลโปโปรตีนความหนาแน่นสูง(high density LP)(HDL)
Chylomicron: ทำหน้าที่ขนย้ายไขมัน (Triglyceride)ที่ได้รับจากอาหารไขมันเข้าสู่กระแสเลือด
VLDL : เป็น LP หลักในการขนย้าย triglyceride ที่ร่างกายสังเคราะห์ไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย
LDL : เป็น LP ที่ใช้ในการขนส่ง cholesterol ไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย (ซึ่งโดยส่วนใหญ่ของ cholesterol ในกระแสเลือดจะอยู่ใน LDL) ในกรณีที่มี cholesterol สูงเกินไป ก็อาจจะเกิดการสะสมของไขมันที่ผนังหลอดเลือดได้และเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้นจึงจัด LDL-C เป็นไขมันชนิดไม่ดี ตรงกันข้าม HDL-C
HDL : เป็น LP ที่ใช้ในการขนถ่าย cholesterol ส่วนเกินจากเนื้อเยื่อรวมทั้งที่ผนังหลอดเลือดส่งกลับมาเผาผลาญที่ตับ ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้ cholesterol เกิดการสะสมที่บริเวณผนังหลอดเลือดได้ จึงจัด HDL เป็นไขมันชนิดดี
ภาวะไขมันในเลือดที่ผิดปกติเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) โดยเกิดจากการมีไขมัน ไม่ว่าจะเป็น cholesterol หรือ triglyceride สะสมที่ผนังหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดหนาขึ้น หลอดเลือดแข็งตัวไม่ยืดหยุ่นและมีรูที่ตีบแคบลง ทำให้เลือดไหลผ่านได้น้อยลง ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งนี้อาจเกิดกับหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจ หรือหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงอวัยวะอื่นๆก็ได้ ซึ่งจะทำให้อวัยวะส่วนนั้นได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอเกิดเป็นเนื้อตาย เช่นการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งหากเกิดการอุดตันสนิทก็จะทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองอุดตัน ทำให้สมองขาดเลือดเกิดเนื้อสมองตาย ผู้ป่วยมีอาการอัมพาต หรือตายได้ ซึ่งโรคเหล่านี้เป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญของประชาชนชาวไทยในปัจจุบัน
ปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่อหัวใจและหลอดเลือด
- การสูบบุหรี่
- ความดันโลหิตสูง (BP ³ 140/90 mmHg หรือกำลังรับประทานยาลดความดัน)
- HDL-C < 40 mg/dl
- มีประวัติของคนในครอบครัวเสียชีวิตก่อนวัยอันควรด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยญาติที่เป็นเพศชายเสียชีวิตก่อน 55 ปี และญาติที่เป็นเพศหญิงเสียชีวิตก่อน 65 ปี
- เพศและอายุ (เพศชาย อายุ ³ 45 ปี, เพศหญิง อายุ ³ 55 ปี หรือตัดรังไข่โดยไม่ได้รับฮอร์โมนชดเชย)
การศึกษาพบว่า ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดน้อยนั้นควรมีระดับไขมันในเลือดดังนี้ TC (total cholesterol, ระดับ cholesterol ทั้งหมด) < 200 mg/dl HDL-C ³ 40 mg/dl Triglyceride < 150 mg/dl หรือหากพิจารณาถึง LDL-C ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด จะมีเกณฑ์ ดังนี้
– ผู้ที่มีโรคหัวใจและหลอดเลือดแล้ว หรือผู้ป่วยเบาหวานไม่ว่าจะมีโรคหัวใจและหลอดเลือดหรือไม่ก็ตาม ควรจะมีระดับ LDL-C < 100 mg/dl
– ผู้ที่ไม่มีโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่มีปัจจัยเสี่ยง ³ 2 ข้อ (ตามข้อ 4) ระดับ LDL-C ไม่ควรเกิน 130 mg/dl
– ผู้ที่ไม่มีโรคหัวใจและหลอดเลือด และมีปัจจัยเสี่ยง < 2 ข้อ (ตามข้อ 4) ระดับ LDL-C ไม่ควรเกิน 160 mg/dl
ดังนั้น ระดับไขมันที่ผิดปกติ คือการมี TC > 200 mg/dl, HDL < 40 mg/dl , TG > 150 mg/dl หรือการมีระดับ LDL-C เกินกว่าที่กำหนดไว้ในแต่ละกลุ่มผู้ป่วย
- จากความผิดปกติทางพันธุกรรมบางอย่าง
- การเจ็บป่วยด้วยโรคบางอย่าง เช่น โรคตับ, โรคไต บางชนิด, ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน, โรคเบาหวาน ซึ่งต้องแก้ไขหรือควบคุมโรคเหล่านี้ได้จึงจะทำให้ระดับไขมันในเลือดกลับสู่ระดับปกติได้
- ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะกลุ่ม Thiazide, ยากลุ่ม b -blockers ซึ่งอาจจะพบในผู้ป่วยบางรายที่ใช้ยาเหล่านี้ การควบคุมอาหารอาจทำให้ผู้ป่วยไม่จำเป็นที่จะต้องรับประทานยาลดระดับไขมันในเลือดในระหว่างที่ใช้ยาเหล่านี้
- การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น การรับประทาน กะทิ, หมู 3 ชั้น, เนื้อสัตว์ที่มีมันมาก, หนังสัตว์, เนย หรือการรับประทานอาหารจำพวกไข่แดง, เครื่องในสัตว์, อาหารทะเล เช่น หอยนางรม,ปลาหมึก, กุ้ง ซึ่งมี cholesterol สูง เหล่านี้จะทำให้ระดับ cholesterol สูงขึ้นได้
เพื่อลดโอกาสของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด หรือในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคดังกล่าวแล้ว การลดระดับไขมันให้อยู่ในระดับปกติก็เพื่อลดการกำเริบหรือควบคุมไม่ให้เป็นมากขึ้น
หากทราบสาเหตุที่ทำให้ระดับไขมันในเลือดสูงขึ้น แล้วทำการแก้ไขที่สาเหตุนั้น ก็จะทำให้ระดับไขมันในเลือดกลับเป็นปกติได้ นอกจากนี้การรักษาภาวะไขมันในเลือดผิดปกติอาจทำได้โดยวิธีการไม่ใช้ยา ซึ่งได้แก่ การควบคุมการบริโภคอาหาร, การลดน้ำหนัก, การออกกำลังกาย, งดสูบบุหรี่, ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งเป็นวิธีที่ควรจะทำในการรักษาภาวะไขมันในเลือดผิดปกติก่อนที่จะเริ่มใช้ยา โดยมีระยะเวลาของการควบคุมอาหารและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนานประมาณ 6-12 สัปดาห์ โดยทำการตรวจวัดระดับไขมันในเลือดเป็นระยะ หากผู้ป่วยมีระดับไขมันในเลือดลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ ก็ไม่จำเป็นต้องรับประทานยา แต่หากไม่สามารถควบคุมได้ด้วยวิธีดังกล่าวก็ควรที่จะใช้ยาร่วมด้วย (ในกรณีผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด อาจจะต้องรับประทานยาภายหลังจากลองให้ใช้วิธีควบคุมอาหารเพียงช่วงเวลาสั้นๆ ก่อน)
การรักษาด้วยยาไม่ว่าจะเป็นยาในกลุ่มใดก็ควรกระทำพร้อมๆกับการควบคุมอาหาร, การออกกำลังกาย, การควบคุมน้ำหนัก หรือแก้ไขปัจจัยเสี่ยงทั้งหลาย ทั้งนี้เพราะหากไม่ทำควบคู่แล้วอาจทำให้การใช้ยาไม่ได้ผลดีนัก และจำเป็นต้องเพิ่มขนาดยา หรือ ใช้ยาหลายชนิดร่วมกัน
โดยทั่วไปแล้ว จะเริ่มให้ยาในขนาดต่ำก่อนแล้วจึงค่อยๆเพิ่มขนาดยาจนสามารถลดระดับ
ไขมันในเลือดได้ตามต้องการ ดังนั้นควรทำการตรวจวัดระดับไขมัน ภายหลังจากที่รับประทานยาแล้วประมาณ 6-12 สัปดาห์ ทั้งนี้เพราะยานั้นออกฤทธิ์ได้เต็มที่แล้ว และหากจำเป็นต้องปรับขนาดยาก็สามารถทำได้
อาการข้างเคียงหรือ อาการไม่พึงประสงค์ของยา : ผู้ป่วยควรทราบถึงอาการข้างเคียงหรือ อาการไม่พึงประสงค์ของยาที่ตนเองใช้อยู่ เพราะอาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยบางรายที่ใช้ยา ซึ่งยาลดระดับไขมันในเลือดโดยส่วนใหญ่ หรือทุกกลุ่มจะทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อทางเดินอาหารได้ เช่น ทำให้ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ท้องเสีย แต่มักจะไม่รุนแรง อาจหายไปได้เมื่อใช้ยาต่อสักระยะหนึ่ง แต่ก็จะมีอาการไม่พึงประสงค์บางอย่างที่รุนแรง และควรจะกลับไปพบแพทย์ เช่น การเกิดภาวะกล้ามเนื้ออักเสบ ซึ่งจะมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อโดยไม่ได้มีสาเหตุจากปัจจัยอื่นนอกจากยาที่รับประทาน หรือการเกิดภาวะตับอักเสบ ซึ่งจะทำให้มีเอนไซม์ของตับเพิ่มขึ้นจากค่าปกติหลายเท่า ซึ่งการเกิดภาวะกล้ามเนื้ออักเสบ หรือภาวะตับอักเสบ มีรายงานการเกิดจากยาในกลุ่ม statin เช่น simvastatin, atorvastatin และ ยาในกลุ่ม fibrate เช่น gemfibrozil, fenofibrate เป็นต้น อย่างไรก็ตามเมื่อหยุดยาแล้วภาวะต่างๆเหล่านั้นก็จะกลับเป็นปกติได้ จากการที่ยาอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ดังกล่าว จึงควรทำการตรวจวัดการทำงานของตับ หรือ เอนไซม์จากตับก่อนที่จะเริ่มใช้ยา และควรจะติดตามวัดระดับเอนไซม์จากตับประมาณ 6-12 สัปดาห์ หลังเริ่มใช้ยา และควรจะติดตามวัดระดับเอนไซม์จากตับเป็นระยะต่อไป เช่น ทุก 6-12 เดือน
จำเป็นต้องรับประทานยาไปตลอด เนื่องจากภาวะนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ หรือจัดเป็นโรคเรื้อรัง ดังนั้นผู้ป่วยจึงจำเป็นที่จะต้องรับประทานยาไปโดยตลอด และหากหยุดรับประทานยา ก็จะทำให้ระดับไขมันในเลือดกลับสูงขึ้นดังเดิม
ไม่ค่ะ ถ้าคุณและสามี มีสุขภาพที่แข็งแรงพร้อมที่จะมีบุตรก็สามารถมีบุตรได้เลยคะหลังหยุดยา
เพราะยาเม็ดคุมกำเนิดไม่ส่งผลอะไร ต่อกระบวนการสืบพันธ์ค่ะ
ใน 1-2 แผงแรก อาจจะเกิดอาการคลื่นไส้ได้ค่ะ ควรเปลี่ยนไปทานยาในช่วงหลังอาหารเย็น
หรือก่อนนอนค่ะ แต่ถ้ายังมีอาการควรเปลี่ยนเป็นฮอร์โมนที่มีเอสโตรเจนต่ำ ค่ะ
กลุ่มผู้ที่ไม่สามารถทานยาเม็ดคุมกำเนิดได้ คือ ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดอุดตัน, โรคตับ,
ผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านม, สตรีตั้งครรภ์เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ,
โรคความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ค่ะ
จริงค่ะ แต่ไม่ทุกยี่ห้อนะคะ ต้องมีตัวยาที่ต้านฮอร์โมนเพศชาย เช่น ไซโปรเทอโรนอะซีเตต
จึงจะลดการเกิดสิวได้ คะ
โรคข้อเข่าเสื่อม จะเกิดกับคนที่มีอายุมากขึ้น หรือน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น และโดยเฉพาะ
ในช่วงวัยทอง ซึ่งจะเริ่มต้นจากปวดเป็น ๆ หาย ๆ อาการปวดจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อมีการขยับ
ใช้งานข้อนั้นมาก
การรักษา ต้องพยายามลดน้ำหนักตัว ไม่ควรนั่งยอง ๆ พับเพียบ นั่งบนพื้นนาน ๆ
หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันได หรือฝืนเดินนาน ๆ ส่วนการรักษาด้วยยา ก็คือ
รับประทานยาลดปวด เช่น พาราเซตามอล และยาต้านการอักเสบที่ไม่มีสเตียรอยด์
ชนิดกิน หรือทาภายนอกเพื่อลดการอักเสบ ซึ่งถ้าการรักษาดังกล่าวไม่ได้ผลแล้ว
แพทย์ก็จะทำการผ่าตัด ค่ะ
เริม เป็นการติดเชื้อไวรัสที่มีอาการ คือ มีตุ่มน้ำใสๆขนาดเล็ก เจ็บๆคันๆและปวดแสบที่ผิวหนังและระบบประสาท เริมเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่ายในขณะที่แผลปรากฏอยู่จนกระทั่งแผลหายแล้วนานถึง 2 สัปดาห์ ในผู้ที่เคยเป็นเริมมาก่อนสามารถถ่ายทอดเชื้อให้ผู้อื่นได้และกลับมาเป็นซ้ำได้ค่ะ
ปัจจัยที่กระตุ้นให้กลับมาเป็นซ้ำอีก:
· การโดนแสงแดดมากเกินไป
· ไข้
· ความเครียด
· ความอ่อนเพลีย
· การมีประจำเดือน
· ความเจ็บป่วย
· การระคายเคืองต่อผิวหนัง
· การผ่าตัด
· การกดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
อาจมีปัจจัยอื่นๆได้อีก ให้พยายามสังเกตและหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นนั้นค่ะ
Ref: MIMS Pharmacy Guide, THAILAND 7th Edition 2007, Page A140 – A142
ความดันโลหิตสูง คือ ภาวะความดันโลหิตที่สูงมากกว่าค่าความดันเฉลี่ยของคนปกติทั่วไป และส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นผลเสียต่อร่างกาย โดยส่วนใหญ่อาการของโรคนี้จะไม่แสดงอาการ แต่ในผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการปรากฏ เช่น ปวดศีรษะ บริเวณท้ายทอย หรือหน้าผาก หลังตื่นนอน เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก ตามัว ซึมเศร้า นอนไม่หลับ
สาเหตุ แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
2.1 กลุ่มที่หาสาเหตุได้ วึ่งเกิดจากโรคต่างๆ เช่น โรคไต ต่อมหมวกไต โรคหลอดเลือด ความผิดปกติจากต่อมไร้ท่อ โรคทางระบบประสาทส่วนกลาง
2.2 กลุ่มที่หาสาเหตุไม่ได้ พบได้มากกว่า 90% ซึ่งจะเป็นบุคลลประเภทที่มีปัจจัยต่อการเกิดโรค ได้แก่
– ผู้สูงอายุทั้งชายและหญิง โดยเฉพาะอายุตั้งแต่ 40-50 ปี ขึ้นไป
– พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน
– พบในผู้ที่มีน้ำหนักมาก มากกว่า คนผอม
– อาจเกิดจากกรรมพันธุ์ ประมาณ 30-40%
– ผู้ที่มีประวัติโรคหัวใจและหลอดเลือดในครอบครัว ผู้ชายที่อายุน้อยว่า 55 ปี และผู้หญิงอายุน้อยกว่า 65 ปี
– ผู้ที่สูบบุหรี่ และดื่มสุรา
– ผู้ที่มีไขมันในเลือดผิดปกติ
– ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
– ผู้ที่มีอารมณ์รุนแรง เครียด อารมณ์แปรปรวนรวดเร็ว
– ระบบตา จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือด บนจอรับภาพ และเกิดโรคประสาทตา
– ระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้เกิดโรคหัวใจโต โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจล้มเหลว กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ภาวะหัวใจวายทำให้เสียชีวิตได้
– ระบบประสาท ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดสมองตีบหรือแตกได้ ส่งผลให้เป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาตได้
– ระบบไต เกิดการตีบของหลอดเลือดที่นำไปเลี้ยงไต ทำให้ไตพิการและไตวายได้
จะต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคือ
1. ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากกว่าปกติ ควรลดน้ำหนัก และควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
2. งดสูบบุหรี่ และควบคุมการดื่มแอลกอฮอล์ เช่น ดื่มเหล้า ไม่เกิน 30 ซี.ซี/วัน ดื่มไวน์ ไม่เกิน 300 ซี.ซี/วัน ดื่มเบียร์ ไม่เกิน 1 ขวดใหญ่/วัน
3. ควบคุมอาหารที่มีไขมันสูง อาหารรสเค็มจัด
4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อขยายหลอดเลือด เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของปอดและหัวใจ
5. ควรพักผ่อนทั้งทางร่างกายและจิตใจ ควบคุมอารมณ์ไม่ให้ตึงเครียด
ค่าความดันโลหิตจะมี 2 ค่า คือ ค่าความดันเมื่อหัวใจบีบตัว เรียกว่า ค่าซีสโตลิด
และค่าความดันเมื่อหัวใจคลายตัว เรียกว่า ค่าไดแอสโตลิด
ค่าความดันโลหิตในคนปกติอยู่ระหว่าง 120/80 มิลลิเมตรปรอท หากสูงเกินนี้
ถือว่าเป็นความดันโลหิตสูง ซึ่งทั้งนี้ต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์
ผู้ป่วยจะมีอาการมึนงง เวียนศีรษะ ปวดศีรษะบริเวณท้ายทอย ส่วนใหญ่ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการ
อะไรเลย แต่ตรวจพบได้โดยการวัดความดันโลหิตจากแพทย์