belcid

“กรดไหลย้อน” โรคฮิตของชีวิตคนเมือง

 

“กรดไหลย้อน” เป็นโรคยอดฮิตตามติดชีวิตคนเมืองไปแล้วในปัจจุบัน ด้วยสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ รวมไปถึงพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง จึงเป็น สาเหตุให้กระเพาะทำงานหนัก หลั่งน้ำกรดมาย่อยมากกว่าเดิม กรดที่เกินก็อยู่กัดกระเพาะ กลายเป็นอาการกรดไหลย้อน ที่ทำให้เราเกิดอาการแสบร้อนได้
หากจะอธิบายให้ละเอียดขึ้น โรคกรดไหลย้อน คือ โรคที่เกิดจากการไหลย้อนกลับของกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะ ทำให้อาหารขึ้นไปอยู่ในหลอดอาหารส่วนบนอย่างผิดปกติ พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เกิดขึ้นได้ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน หรือแม้แต่ตอนที่ไม่ได้รับประทานอาหาร

อาการของกรดไหลย้อน
รู้สึกแสบร้อนบริเวณกระเพาะไล่มาถึงลำคอ เนื่องจากกรดไหลย้อนขึ้นจากกระเพาะสู่หลอดอาหาร

พฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้กรดไหลย้อน
การทานอาหารตอนดึก ทานแล้วนอนเลย ทานไม่เป็นเวลา ทานเยอะหรือเร็วเกินไป และการไม่ทานผักผลไม้ ล้วนทำให้กระเพาะหลั่งกรดออกมามากกว่าปกติ และหลั่งไม่เป็นเวลา ส่งผลให้หูรูดกระเพาะเสื่อม ควบคุมกรดไม่ได้อีกต่อไป

 

 

อาหารที่ควรเลี่ยงเมื่อเป็นกรดไหลย้อน
อาหารทอด อาหารมัน อาหารรสจัด ทั้งเผ็ด เค็ม เปรี้ยว อาหารหมักดอง ผลไม้รสเปรี้ยวจัด เช่นสับปะรด ส้ม มะนาว อาหารที่ทำมาจากถั่ว เนื้อสัตว์สุกๆ ดิบๆ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน (ชา กาแฟ) น้ำอัดลมที่มีทั้งแก๊สและกาเฟอีน เครื่องดื่มชูกำลัง

 

 

อาหารบรรเทากรดไหลย้อน
เครื่องดื่มร้อน เช่น ชาสมุนไพร ชาขิง ชามินต์ ช็อคโกแลตร้อน น้ำเต้าหู้ หรือน้ำมะนาวอุ่น ช่วยขับลม ทำให้สดชื่น ผ่อนคลาย และสบายท้อง เน้นรับประทานทานอาหารย่อยง่ายและมีกากใยสูง เช่น มะละกอ กล้วยหอม หรือแอปเปิ้ล เพื่อช่วยกระตุ้นระบบการย่อยอาหารให้กลับมาเป็นปกติ และไม่ควรทานอาหารในปริมาณมาก กระเพาะอาหารจะได้ไม่ทำงานหนัก
หลายคนเข้าใจว่าเมื่อกรดไหลย้อนกำเริบ การรับประทานนมจะช่วยเคลือบกระเพาะ แต่แท้จริงแล้ว นมอาจไปเพิ่มปัญหาให้กระเพาะโดยไม่รู้ตัว เพราะลำไส้ของบางคน ไม่มีเอนไซม์ที่ใช้ย่อยน้ำตาลแลคโตสที่อยู่ในนม จึงมักเกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จนถึงท้องเสีย แทรกขึ้นมาจากอาการกรดเกินที่เป็นอยู่ ดังนั้น ควรเลือกนมที่ไม่มีแลคโตสที่หาได้ตามท้องตลาด เพื่อหลีกเลี่ยงอาการดังกล่าว ให้กระเพาะไม่ทำงานหนักกว่าเดิม สามารถเคลือบกระเพาะได้ และอยู่ท้อง

เคล็ดลับง่ายๆ ในการดูแลตัวเองเมื่อกรดไหลย้อนมาเยือน
เมื่อมีอาการ ควรลุกขึ้นนั่งหลังตรงสักพัก เพื่อควบคุมอาการที่กำเริบ ให้กรดที่หลั่งออกมาอยู่ในบริเวณที่เหมาะสม ไม่กัดหลอดอาหาร ปรับหมอนหนุนให้สูงขึ้นเล็กน้อยก่อนนอนต่อ เพื่อให้ศีรษะอยู่สูงกว่าลำตัว ป้องการเกิดอาการซ้ำ
เมื่ออยู่ในช่วงที่ทำงานหนัก หรือเร่งรีบ เจียดเวลาไปรับประทานข้าวไม่ได้ ควรมีขนมชิ้นเล็กๆ ติดกระเป๋าไว้ เพื่อรองท้องให้น้ำย่อยไม่กัดกระเพาะ ทางที่ดีควรเป็นขนมปังเพราะโซเดียมต่ำ ไม่ผ่านการทอด ไม่อย่างนั้นแล้ว กระเพาะจะต้องทำงานหนักและหลั่งกรดออกมาย่อยมากกว่าเดิม หรือจะพกกล้วยน้ำว้าไว้ใกล้ๆ ตัว เพราะกล้วยน้ำว้าสามารถแก้ปัญหากรดเกินเฉพาะหน้าได้ แต่มีเคล็ดลับคือ ต้องเลือกลูกที่กำลังเขียว-ห่าม เพราะกล้วยห่ามจะกระตุ้นให้ผนังกระเพาะสร้างเยื่อเมือกเคลือบกระเพาะและแผลในกระเพาะอาหาร แต่ไม่ทำลายระบบธรรมชาติของร่างกาย
อีกวิธีที่ดีคือมียาลดกรด-เคลือบกระเพาะไว้ใกล้ตัว ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการแสบท้อง จุกเสียด ปวดกระเพาะจากกรดเกินได้ทันท่วงที โดยหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป เพียงเท่านี้ ก็สามารถบรรเทาอาการกรดไหลย้อนได้แล้ว

 

 

 

ติดตามเคล็ดลับดีๆเกี่ยวกับสุขภาพและไลฟ์สไตล์ได้ที่   https://www.facebook.com/healthyclub.by.biopharm/

ปรึกษาปัญหาสุขภาพกับ Biopharm ทาง Line Official : @biopharm


รับมือโรคกระเพาะ โรคฮิตคนทำงาน

โรคกระเพาะอาหารกลายเป็นอีกหนึ่งโรคยอดฮิตของคนทำงาน ตั้งแต่พนักงานบริษัทจนถึงระดับผู้บริหาร จากไลฟ์สไตล์ที่เร่งรีบ ทานข้าวไม่ตรงเวลา และที่สำคัญคือความเครียดจากการทำงาน ขึ้นชื่อว่าเป็นโรคยอดฮิตของ พนักงานออฟฟิศ ขนาดนี้ ไบโอฟาร์มขอพาคุณมาทำความรู้จักและวิธีป้องกันตัวเองจากโรคนี้กันค่ะ

โรคกระเพาะคืออะไร?
โรคกระเพาะอาหาร (Gastric Ulcer) ที่จริงแล้วมาจากชื่อเต็มว่า โรคแผลในกระเพาะอาหาร คือการที่มีแผลเกิดขึ้นในกระเพาะอาหาร ส่วนใหญ่เกิดจากเยื่อเมือกบุภายในกระเพาะอาหารถูกทำลายโดยน้ำย่อย หรือสารระคายเคืองอื่นๆ

แล้วโรคกระเพาะเกิดจากอะไร?
สาเหตุของโรคกระเพาะที่เราคุ้นเคยกันดี ก็คงหนีไม่พ้นการทานอาหารไม่ตรงเวลา จนทำให้กรดในน้ำย่อยกัดกระเพาะจนเป็นแผล ทำให้เราปวดท้องทั้งตอนที่หิว และตอนอิ่ม รวมถึงความเครียดที่ทำให้กระเพาะบีบตัวและผลิตน้ำย่อยออกมามากกว่าปกติ

แต่ใครจะรู้ว่า มากกว่าครึ่ง ของคนที่ป่วยเป็นโรคกระเพาะ เกิดจากการติดเชื้อ เอชไพโลไร (H. Pylori) ในกระเพาะ ซึ่งเป็นเชื้อที่ติดต่อได้จากคนสู่คน โดยเชื้อนี้จะเข้าไปทำให้ระบบในกระเพาะไม่สมดุล และไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่

นอกจากนี้ โรคกระเพาะยังสามารถเกิดขึ้นจากปัจจัยอื่นด้วย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยาแก้อักเสบที่อาจทำให้กระเพาะระคายเคือง รวมถึงพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งอาจไม่ใช่สาเหตุโดยตรง แต่สามารถก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อเมือกบุของกระเพาะอาหาร และอีกหนึ่งสาเหตุก็คือ พันธุกรรมนั่นเอง

อาการแบบไหนที่เรียกว่าโรคกระเพาะ
อาการของโรคแผลในกระเพาะอาหารในระยะเริ่มต้น ได้แก่ ปวดท้อง แสบท้อง โดยเฉพาะเมื่อรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ในบางรายจะไม่สามารถผายลมได้ และปวดท้องรุนแรงหลังทานอาหาร หรือดื่มน้ำ เมื่อถึงขั้นสาหัสอาจอาเจียนเป็นเลือด หรือมีอุจจาระเป็นสีดำ น้ำหนักลดลงเนื่องจากอาการเบื่ออาหาร หรืออาจมีภาวะลำไส้อุดตัดร่วมด้วย เพราะแผลในกระเพาะอาหารสามารถก่อให้เกิดพังผืด และทำให้ลำไส้เล็กตีบได้

เป็นโรคกระเพาะแล้วต้องทำอย่างไร
วิธีการดูแลตัวเองเมื่อมีอาการเสี่ยงข้างต้น...

  • ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร
  • ควรงดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ไม่ซื้อยาแก้ปวดต่างๆ ทานเอง เพราะอาจไประคายเคืองแผลในกระเพาะมากขึ้น
  • ทานยาลดกรด หรือยาเคลือบกระเพาะเพื่อบรรเทาอาการ
  • หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และแอลกอฮอล์ที่จะทำให้กระเพาะผลิตกรดมากขึ้น ควบคู่ไปด้วยเพื่อการรักษาที่ยั่งยืน

กลุ่มอาชีพที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระเพาะที่สุด ก็คงหนีไม่พ้นพนักงานออฟฟิศ จากพฤติกรรมทานข้าวไม่ตรงเวลา และต้องพบเจอกับความเครียดจากการทำงาน เมื่อรู้ตัวว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงแล้ว ควรปรับพฤติกรรมทั้งเวลาทานข้าวและการจัดการกับความเครียดทันทีที่รู้ตัว อย่าโหมงานหนักจนต้องใช้เงินเดือนไปกับการรักษาสุขภาพ

ไม่ว่างานจะยุ่งขนาดไหน ก็อย่าลืมดูแลตัวเอง และเพื่อนร่วมงานกันด้วยนะคะ ด้วยความห่วงใยจาก Biopharm

 

 

ติดตามเคล็ดลับดีๆเกี่ยวกับสุขภาพและไลฟ์สไตล์ได้ที่   https://www.facebook.com/healthyclub.by.biopharm/

ปรึกษาปัญหาสุขภาพกับ Biopharm ทาง Line Official : @biopharm